ยินดีต้อนรับเพื่อนๆทุกคนเข้าสู่ผลงานวิชากฎหมายการศึกษา หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยใน ณ ที่นี้ด้วยขอรับ:))

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน4



แบบฝึกหัดทบทวน

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย

ตอบ    สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกัรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยไดก้ล่าวไวว้่า “บัด นี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนา ประเทศของตน ในอัน ที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดีสมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
             ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ
             หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)



2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                        หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                        มาตรา 36 บุคคลยอ่ มมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่า ด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
                        หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
                        มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
                        หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                        มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็ นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
                        มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบา รุงการศึกษาอบรม การจดัระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                        มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือใหม้ีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร 
                        มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)


3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
ตอบ   เหมือนกัน เพราะทั้ง รัฐธรรมนูญฯ พุทธศีกราช 2511 พุทธศีกราช 2517 และพุทธศีกราช 2521
ทั้ง 3 ฉบับนี้ก็มุ่งเน้นในตัวบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษา


4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ     บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
             ประเด็นที่ 1 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
         สยาม พุทธศักราช 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนคำ ว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทย จนถึง
ปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาไม่มากหนัก ได้กำ หนดสิทธิและเสรีภาพ
การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
พอที่จะสรุปได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร             ประเด็นที่ 2เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรม ตามความสามารถของบุคคล
2. หน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้น ประถมศึกษาหรือการศึกษาขั้น มูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายำา หนดสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็ นประชาธิปไตย
3. กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงอานามัย
4. ส่งเสริมและบา รุงการศึกษาอบรมการจดัระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐการศึกษาอบรมช้นัอุดมศึกษา ดา เนินไดต้ามขอบเขตที่กฎหมายกำ หนด
5. การจัดอบรมชั้น ประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน


5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกบัการศึกษาเหมือนหรือต่างกนัอย่างไร อธิบาย
ตอบ   บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกัรไทย ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
         ประเด็นที่ 3 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปไดดังนี้
1. บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกัน ในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาอบรมไม่เป็นปรปักษและไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา
2. เสรีภาพในวิชาการย่อ มได้รับการคุ้มครองที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง
3. รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม ระบบการศึกษาอบรมเป็ นหน้าที่ของรัฐและ เกี่ยวกบัการศึกษาพอที่จะสรุปไดด้งัน้ี
4. การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐกา หนดให้สถานศึกษาดา เนินการตามกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกา หนด
5. การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
6. รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ใหไ้ด้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ
7. รัฐสนบั สนุนการวจิยัในศิลปะและวทิยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใชว้ทิยาศาสตร์
8. รัฐพึงสนับ สนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติใหเ้ป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ท้งัทางร่างกายและเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศจิตใจ และสติปัญญาคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่น คงของรัฐ
          ประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนการวิจัยได้รับการคุ้มครอง
2. รัฐจัดการศึกษาให้กับ บุคคลมีสิทธิเสมอกัน ในการศึกษาขั้น พื้นฐานไม่น้อยกวา12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่ว ถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จาย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
3. รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคท้งัหญิงและชาย พัฒ นาความเป็นปึกแผ่น ของครอบครัวและความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
4. รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจดัใหม้ีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
5. รัฐส่งเสริมสนับ สนุนการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒ นามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น


6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ    สิทธิเสรีภาพ ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน รัฐต้องจัดการศึกษาให้กับบุคคลในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึง

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำ หนด“บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ    เมื่อ บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ กำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องคก์รปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่า เป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จดัและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคลอ้งกบัแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
            ถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นจะทำให้ตัวผู้เรียนมีความรู้เพียงแต่ภายในท้องถิ่นซึ้งความเป็นจริงนั้นเราจำเป็นต้องรู้ให้ก้าวทันโลกในสมัยยุคโลกาภิวัฒน์


9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคท้ังหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ    มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกวา่ 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามสิทธิและการสนับ สนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับ บุคคลอื่น การจัดการศึกษาองค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     สรุปสาระสำคัญ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ละฉบับ ที่เกี่ยวกับการศึกษา พบว่า นับ ตั้งแต่ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับ เด็กและเยาวชนใหเ้ป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน ไม่นอ้ยกว่า 12 ปีรัฐจะตอ้งจดัอย่างทั่ว ถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเรียกชื่อวา่ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติข้ึน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น